การออกแบบ เครื่องบินเอฟ-35
ดูเหมือนว่าจะมีขนาดเล็กกว่า สะดวกกว่าเอฟ-22 แร็พเตอร์ที่มีสองเครื่องยนต์ การออกแบบท่อไอเสียนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจเนรัล ไดนามิกส์ โมเดล 200 ซึ่งเป็นอากาศยานขึ้น-ลงในแนวดิ่งในปีพ.ศ. 2515 เพื่อทำให้การพัฒนาเอฟ-35บีรุ่นพิเศษที่เป็นอากาศยานขึ้น-ลงในแนวดิ่ง ทางล็อกฮีดจึงปรึกษากับสำนักงานออกแบบยาโกเลฟ โดยการซื้อแบบมาจากการพัฒนาของยาโกเลฟ ยัค-141
การพัฒนาที่เหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ยุคปัจจุบันได้แก่
เทคโนโลยีการล่องหน
ระบบอิเลคทรอนิกผสานและเซ็นเซอร์ซึ่งใช้ข้อมูลร่วมกัน ทั้งจากนอกและในเครื่องบิน เพื่อเพิ่มความระมัดระวังตัวให้กับนักบินและเพิ่มการระบุเป้าหมาย การยิงอาวุธ และส่งข้อมูลให้กับศูนย์บัญชาการได้รวดเร็วขึ้น
เครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงไออีอีอี 1394 บิต และช่องทางไฟเบอร์
เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ๆ ไม่สามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ไปได้ทุกครั้ง แต่สำหรับเอฟ-35 มันจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างมาก
ไม่เหมือนกับเอฟ-22 และเอฟ/เอ-18 ตรงที่เอฟ-35 นั้นไม่มีปีกเสริมส่วนหน้า แต่มันใช้ส่วนปีกเสริมที่เหมือนกับเอสอาร์-71 แบล็คเบิร์ดแทน
ห้องนักบิน
เอฟ-35 มีจุดเด่นที่จอแสดงผลที่กว้างมากโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 28×8 นิ้ว ระบบจดจำเสียงของห้องนักบินมีไว้เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้งานเครื่องบินของนักบินได้มากกว่าเครื่องบินแบบทั่วไป เอฟ-35 จะเป็นเครื่องบินปีกนิ่งลำแรกของสหรัฐที่ใช้ระบบนี้ แม้ว่าระบบที่ใกล้เคียงกันจะมีอยู่ในเอวี-8บีและเอฟ-16 วิสต้า ในการพัฒนาระบบจะทำโดยบริษัทอดาเซล ซิสเทมส์ นักบินจะบินโดยใช้คันบังคับทางขวามือและซ้ายมีจะเป็นคันเร่ง
หมวดติดจอแสดงผลจะถูกใช้กับเอฟ-35 ทุกรุ่น หมวกที่มีกล้องมองตามนั้นได้ถูกนำไปใช้กับเอฟ-15 เอฟ-16 และเอฟ/เอ-18 เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่เครื่องบินขับไล่บางลำมีหมวกติดจอแสดงผลพร้อมกับหน้าจอฮัด สิ่งนี้จะเป็นครั้งแรกในหลายทศวรรษที่เครื่องบินขับไล่แนวหน้าจะไม่มีหน้าจอฮัด
เก้าอี้ดีดตัวของมาร์ติน-เบเกอร์รุ่นยูเอส16อีถูกนำมาใช้กับเอฟ-35 ทุกรุ่น ที่นั่งยูเอส16อีนั้นมีความสมดุลในด้านการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยที่คำนึงถึงขีดจำกัดของสภาพแวดล้อม น้ำหนักของนักบิน และขนาดตัวของนักบิน มันใช้ระบบคันดีดคู่ซึ่งจะอยู่ที่ส่วนท้าย